รูปหัวเว็บ
รายงาน การเฝ้าระวังและควบคุมโรคไข้หวัดนก ของ สนง.ปศุสัตว์อำเภอเมืองนครราชสีมา
ตั้งแต่ 1 ธันวาคม 2549 เมื่อ มีคำสั่งกรมปศุสัตว์ จัดอัตรากำลัง ออกปฏิบัติงานประจำ สำนักงานปศุสัตว์อำเภอ
จนถึงปัจจุบัน สิ้นปีงบประมาณ 2550 นั้น ได้รับนโยบายจากกรมปศุสัตว์ โดย สนง.ปศุสัตว์จังหวัด
เพื่อปฏิบัติงานในพื้นที่สำหรับการป้องกันการระบาดของโรคไข้หวัดนก
ซึ่ง สรุปได้ดังนี้ นำนโยบาย เข้าประชุมระดับอำเภอ ทั้งหัวหน้าส่วนราชการต่างๆ เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล
และกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ทั้งผู้ประกอบการสถานที่ชำแหละสัตว์ปีก สนามไก่ชน ซุ้มไก่ชน เจ้าของสัตว์ปีก
พร้อมทั้ง อาสาป้องกันโรคสัตว์ (อสป.)ได้ช่วยกัน รณรงค์ทำความสะอาดและพ่นยาฆ่าเชื้อโรค มาตลอดทุกครั้ง
สนง.ปศุสัตว์อำเภอเมืองนครราชสีมา ขอขอบพระคุณ ทุกๆ ส่วนราชการ และบุคคลที่เกี่ยวข้อง ทุกท่าน ไว้ ณ ที่นี้
ท้ายสุด ต้องขอขอบคุณ เจ้าหน้าที่ของสนง.ปศุสัตว์อำเภอเมืองนครราชสีมาทุกท่าน
ที่ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ช่วยกันอย่างดีมาตลอดจนในพื้นที่ ปลอดจากโรคไข้หวัดนก
ในปี งบประมาณ 2551 เจ้าหน้าที่ต้องถูกเลิกจ้าง 1 ราย เหลือ ปศอ.,ส.พ.6 และพนักงานราชการ รวมทั้งหมด 3 นาย
ซึ่งต้องรับผิดชอบพื้นที่ อำเภอเมืองนครราชสีมา 24 ตำบล 236 หมู่บ้าน เป็นงานที่ท้าทายมากครับผม
ประชุมรับนโยบายจาก ปศุสัตว์จังหวัด
แสดงความคิดเห็น เพื่อให้งานบรรลุเป้าหมาย
นำนโยบายเข้าประชุมระดับหัวหน้าส่วนราชการของอำเภอ
ชี้แจงรายละเอียดให้ที่ประชุมกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ทราบ
ประสานงานกับส่วนราชการทหาร พร้อมให้ความรู้เพิ่มเติม
นำรายละเอียด อธิบายเพื่อขอความร่วมมือโดยสะดวกต่อไป
ประชุมหารือ ปรึกษา พร้อมทำข้อตกลงต่อการปฏิบัติ
สำรวจจำนวนสัตว์ปีกที่ ไล่ต้อนเลี้ยง (เป็ดไล่ทุ่ง)
ออกสำรวจข้อมูจจริงๆในพื้นที่
กำหนดจุดให้อยู่เป็นที่ชัดเจน เพื่อตรวจสอบโรค
ดำเนินการฉีดวัคซีนป้องกันโรค
ตรวจสอบจำนวนจากการได้ฉีดวัคซีน กักดูอาการและผลSwab
วัคซีนที่ใช้ดำเนินการ ยังไม่พอเพียง นะครับ
เจ้าของสัตว์ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดียิ่ง
กักบริเวณเลี้ยงจนครบกำหนด 30 วัน
นำเจ้าหน้าที่สุ่มตรวจการเลี้ยง และแนะนำผู้เลี้ยงระวังโรค เสมอ
ครบกำหนดกักให้เคลื่อนย้ายได้
สัตว์ที่ต้องส่งโรงเชือดต้องผ่านการตรวจสอบโรคก่อน
ตรวจสอบตามจุดเลี้ยงต่างๆ ทั้งได้รับแจ้งให้เข้าตรวจ
และเข้าจุดที่เสี่ยง ซึ่งต้องดำเนินการตรวจสอบโรคก่อนที่อื่นๆ
ประสานงานกับองค์การบริหารส่วนตำบลต่างๆ เพื่อเตรียมการ
ควบคุมป้องกันและเฝ้าระวังโรค ไม่ให้เกิดขึ้นอย่างเข้มงวด
ซ้อมแผนควบคุมโรค กับส่วนราชการอื่นๆ เช่น สาธารณสุข ฯลฯ
อธิบายขั้นตอนต่างๆ ขณะปฏิบัติงานในพื้นที่จริง
ต้องทำให้ถูกต้องทุกๆ ขั้นตอนไป (เตรียมพ่นยาฆ่าเชื้อ)
นำสัตว์ปีกใส่ถุง พร้อมนำไปทำลาย ในจุดที่เสี่ยงจะเกิดโรค
เหตุการณ์รณรงค์ทำความสะอาดและพ่นยาฆ่าเชื้อ ในพื้นที่เสี่ยง
เคยเป็นหมู่บ้านที่เกิดโรคมาแล้ว
รณรงค์ทำความสะอาดและพ่นยาฆ่าเชื้อ ณ. สถานที่เชือดสัตว์ปีก
และสถานที่เลี้ยงไก่ชน
เข้าตรวจสอบโรค ที่ซุ้มไก่ชนเป็นประจำ
Swab และทำสมุดประจำตัวไก่ชน
ความต้องการ อยากมีรถพ่นยาฆ่าเชื้อโรค แบบนี้
ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมาก
เหมาะมีไว้ประจำปศุสัตว์จังหวัด หรืออำเภอใหญ่ๆ บ้างนะครับนาย
ใช้ได้อย่างคุมค่าจริงๆ เห็นแล้ว เหลือใจเทศบาลอำเภอสูงเนิน