รูปหัวเว็บ
โครงสร้างองค์กร สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดนครราชสีมา
 
1. ฝ่ายบริหารทั่วไป
• ดำเนินการเกี่ยวกับงานสารบรรณและงานธุรการทั่วไป
• ดำเนินการเกี่ยวกับงานด้านการเงิน การบัญชี วัสดุ ครุภัณฑ์ การบริหารบุคคล งานติดต่อประสานงาน งานสถิติข้อมูล
• ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดทำแผนงาน งบประมาณ และเร่งรัดติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานของจังหวัด
2. กลุ่มพัฒนาสุขภาพสัตว์
• ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยโรคระบาดสัตว์ สถานพยาบาลสัตว์ โรคพิษสุนัขบ้าและกฎหมายที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบอำนาจ
• ดำเนินการจัดทำแผนและปฏิบัติงานทางวิชาการด้านสุขศาสตร์สัตว์ ด้านวิทยาการสืบพันธุ์
• การรักษาพยาบาลที่ซับซ้อนและการชันสูตรทางห้องปฏิบัติการ รวมทั้งสนับสนุนทางวิชาการแก่ศูนย์ปฏิบัติการปศุสัตว์
• ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านสุขภาพสัตว์
3. กลุ่มพัฒนาคุณภาพสินค้าปศุสัตว

• ดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาฟาร์มให้เป็นไปตามมาตรฐานฟาร์ม หลักสวัสดิภาพสัตว์ และพัฒนาคุณภาพสินค้าปศุสัตว์
• ตรวจสอบติดตามรักษามาตรฐานฟาร์มที่ผ่านการรับรอง
• ควบคุมและสนับสนุนการปฏิบัติงานด้านมาตรฐานฟาร์มและสินค้าปศุสัตว์แก่ศูนย์ปฏิบัติการปศุสัตว์
• ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์

4. กลุ่มพัฒนาเทคโนโลยีการปศุสัตว์

•ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยพัฒนาประยุกต์เทคโนโลยีการผลิตสัตว์ ผลิตภัณฑ์สัตว์ แนวทางการแก้ไขปัญหาการผลิตสัตว์ให้เหมาะสม ที่จะนำไปปฏิบัติในพื้นที่
• วิเคราะห์ศักยภาพพื้นที่ จัดระบบเขตเศรษฐกิจด้านการผลิตปศุสัตว์ ระบบการตลาดปศุสัตว์
• จัดตั้งศูนย์ข้อมูลการพัฒนาเทคโนโลยีการปศุสัตว์ประยุกต์
• กำหนดกลยุทธ์ มาตรการ แผนและแนวทางการปฏิบัติงานถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เหมาะสมไปสู่เกษตรกร กลุ่มเกษตรกรเป้าหมาย และองค์กรที่เกี่ยวข้อง และให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับระบบการพัฒนาปศุสัตว์
• ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการบำรุงพันธุ์สัตว์ การควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง

5. กลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศการพัฒนาปศุสัตว์
• ศึกษา วิเคราะห์ทำแผนยุทธศาสตร์/โครงการ/แผนงาน และงบประมาณด้านการพัฒนาปศุสัตว์ ให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ จังหวัด/กลุ่มจังหวัด/องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและศักยภาพการปศุสัตว์ในพื้นที่
• จัดทำ ปรับปรุงข้อมูล และสารสนเทศด้านการปศุสัตว์ให้ครอบคลุม ครบถ้วน ทั้งในระดับจังหวัด อำเภอ ท้องถิ่น และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข่าวสารด้านการปศุสัตว์อย่างทั่วถึง
• สนับสนุนการปฏิบัติงานตามโครงการ แผนงานในพื้นที่ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเกษตรกร และประชาชนในการพัฒนาปศุสัตว์
• ส่งเสริมพัฒนาศักยภาพของผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ ให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถ บริการประชาชน ในการให้คำปรึกษา แนะนำ และช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติด้านปศุสัตว์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
• ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบูรณาการงานตามยุทธศาสตร์เพื่อให้เกิดความร่วมมือ และเป็น ข้อมูลในการพิจารณา จัดทำนโยบาย/โครงการ/แผนงาน ต่อไป
• การปฏิบัติงานเพื่อเตรียมความพร้อมรองรับผลกระทบจากการเปิดเสรีการค้าระหว่างประเทศ (FTA) ให้กับ เกษตรกรเพื่อลด การเสียเปรียบทางการค้า
6. สำนักงานปศุสัตว์อำเภอ

• ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยโรคระบาดสัตว์ การควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ โรคพิษสุนัขบ้า และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ที่รับผิดชอบ
• ดำเนินการเกี่ยวกับสุขภาพสัตว์ สุขอนามัย สิ่งแวดล้อม การปศุสัตว์ รักษาพยาบาลสัตว์ และคุณภาพสินค้าปศุสัตว์ในพื้นที่ที่รับผิดชอบ
• ดำเนินการเกี่ยวกับงานวิชาการ การถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านปศุสัตว์ โครงการพิเศษอื่นๆ แนะนำมาตรฐานฟาร์มปศุสัตว์
• จัดเก็บรวบรวมข้อมูลการปศุสัตว์ และสาธิตการปลูกพืชอาหารสัตว์ ในพื้นที่ที่รับผิดชอบ