ความรู้เรื่องโรคไข้หวัดนก

 

โรคไข้หวัดนก (Avian Influenza = AI)

เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส Avian Influenza virus type A ในตระกูล Orthomyxoiridae ซึ่งเป็นไวรัสชนิดมีเปลือกหุ้ม โดยมี surface antigens ที่สำคัญได้แก่ haemagglutinin (H) มี 15 ชนิด และ neuraminidase (N) มี 9 ชนิด

เชื้อไวรัส Influenza แบ่งเป็น 3 type ได้แก่

q       Type A แบ่งเป็นเซตย่อย 15 subtype ตามความแตกต่างของ H และ N antigen พบได้ในคนและสัตว์ต่างๆ เช่น สุกร ม้า และสัตว์ปีกทุกชนิด

q       Type B ไม่มี subtype พบเฉพาะในคน

q       Type C ไม่มี subtype พบเฉพาะในคน

·       อาการ

โรคไข้หวัดนก อาการที่แสดงนั้นมีความผันแปรตั้งแต่ระดับที่ไม่รุนแรง ไปจนถึงขั้นเสียชีวิต ขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อไวรัส และสัตว์ที่ได้รับเชื้อ สัตว์อาจจะไม่แสดงอาการป่วย แต่มีระดับภูมิคุ้มกันสูงขึ้น (Seroconverion) ภายใน 14 วัน จึงสามารถวินิจฉัยว่าเป็นโรค สัตว์อาจจะแสดงอาการดังนี้

-          กินอาหารลดลง

-          ปริมาณไข่ลดในไก่ไข่

-          นอกจากนี้จะมีอาการ ไอ จาม ขนร่วง มีไข้ หน้าบวม ซึม ท้องเสีย

-          ในรายที่มีอาการติดเชื้อรุนแรงอาจจะตายกระทันหัน ซึ่งมีอัตราตายสูง 100 %

ไวรัสชนิดนี้อาจทำให้สัตว์ปีกชนิดอื่นๆ ป่วยตายด้วย เช่น เป็ด นกกระทา ไก่งวง เป็นต้น

·        แหล่งที่มาของไวรัส

สัตว์ปีกทุกชนิดมีความไวต่อเชื้อไข้หวัดนก สามารถที่จะแยกเชื้อได้จากนกน้ำ รวมทั้ง นกชายทะเล  นกนางนวล ห่าน และ นกป่า เป็ดป่า ที่จะนำเชื้อไวรัสชนิดนี้ โดยที่จะไม่แสดงอาการป่วย ซึ่งถือได้ว่าเป็นแหล่งรังโรคทีสำคัญในสัตว์ปีก

โอกาสสัมผัสกับนกน้ำเป็นความเสี่ยงสูง แต่ยังไม่ทราบว่าปัจจัยใดที่ส่งผลให้การระบาดไม่แน่นอนในแต่ละพื้นที่นั้น

 

·       วิธีการติดต่อของโรค

1.   การติดต่อของโรคจากการสัมผัสกับอุจจาระ เป็นวิธีการติดต่อที่สำคัญระหว่างนกด้วยกัน นกป่าจะเป็นตัวนำเชื้อไวรัสไข้หวัดนกไปยังนกในโรงเรือนที่เปิดได้ โดยผ่ายการปนเปื้อนของอุจจาระ

2.   การติดเชื้อโดยทางการสัมผัสกับสิ่งปนเปื้อนเชื้อโรค ( Mechanical Transmiission )มูลของนกเป็นแหล่งของเชื้อไวรัสที่สำคัญ การขับเชื้อไวรัสทางมูลเป็นเวลา 7 – 14 วัน หลังจากการติดเชื้อ แต่ไม่พบเชื้อไวรัสในสิ่งปูรองได้ในระยะเวลานานถึง 4 สัปดาห์หลังจากการติดเชื้อ ไวรัสสามารถจะอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นานถึง 105 วัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ซึ่งมีอุณหภูมิต่ำและความชื้นสูง ดังนั้น วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ คน และสัตว์ เช่น นกป่า หนู แมลง นกกระจอก จึงเป็นปัจจัยในการกระจากของโรคได้

3.      การติดเชื้อจากการหายใจเอาสิ่งคัดหลั่งของผู้ป่วย ก็เป็นได้

4.   ไวรัสไข้หวัดนกสามารถพบในเปลือกไข่ชั้นในและนอก อย่างไรก็ตาม การติดต่อจากแม่ไก่ผ่านมายังลูกไก่ทางไข่ (Vertical transmission) ยังไม่มีการรายงาน ส่วนการติดต่อโรคผ่านไข่ไปยังฟารืมอื่นมักเกิดจากการปนเปื้อนเชื้อที่เปลือกไข่ หรือถาดไข่ และจัดเป็นการติอต่อที่สำคัญวิธีหนึ่ง

·       มาตรการการป้องกันการแพร่กระจายของโรค

โรคไข้หวัดนก ในฟาร์มที่มีโรคระบาด ประกอบด้วย 3 หลักการที่สำคัญ คือ

1. การป้องกันการกระจายของเชื้อ

1.      ไม่ให้มีการนำสัตว์ปีกเข้าไปในสถานที่ซึ่งมีการระบาดของโรคภายหลังจากการกำจัดสัตว์ป่วย ในระยะเวลา 21 วัน

2.      กำจัดวัชพืชรอบโรงเรือน และกำจัดสิ่งปูรองตลอดจนอาหารของสัตว์ป่วยนั้น

3.   มีโปรแกรมควบคุมพาหะของโรค เช่น แมลง สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม หนู และนก เนื่องจากสิ่งต่างๆเหล่านี้เป็นตัวนำพาเชื้อโรคจากอุจาระของสัตว์ป่วยไปยังที่ต่างๆ ได้

4.   ป้องกันการสะสมของแหล่งน้ำภายในฟาร์ม ซึ่งเพิ่มปริมาณของนกที่เคลื่อนย้ายเข้ามา และมีโอกาสเป็นสื่อให้การแพร่กระจายของโรคขยายวงออกไป

5.      กำจัดแหล่งอาหารซึ่งเป็นปัจจัยทำให้นกเข้ามาอาศัย

6.      ให้ความรู้พนักงานและผู้เกี่ยวข้องให้ตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกันการแพร่กระจายของโรคไปยังที่ต่างๆ

 

2.      การควบคุมการเคลื่อนย้าย

1.      จัดระบบควบคุมการเข้า – ออกฟาร์มของบุคคลภายนอกและบุคคลภายในฟาร์ม

2.      ลดการเคลื่อนย้ายระหว่างภายในฟาร์มและภายนอกฟาร์ม โดยใช้ระบบสื่อสารทางโทรศัพท์ และโทรสาร

3.      ให้ใช้มาตรการทำลายเชื้อโรคคนที่เข้าออกฟาร์ม

4.      ไม่อนุญาตให้พนักงานขับรถยนต์ พนักงานขนส่งเข้า – ออกฟาร์มโดยที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อ

3.      การรักษาสุขอนามัย

1.      ใช้ยาฆ่าเชื้อทำลายเชื้อโรค และควบคุมไม่ให้มีการปนเปื้อนอุจจาระไปกับรถหรือยานพาหนะ

2.      ล้างวัสดุ อุปกรณ์และยานพาหนะด้วยผงซักฟอก และยาฆ่าเชื้อ

 

*********************************************